วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

IOT internet of things

   Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
 IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
     เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

แบ่งกลุ่ม Internet of Things

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่
  1. Industrial IoT
    คือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
      
  2. Commercial IoT
    คือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 



AI ปัญญาประดิษฐ์







Artificial Intelligence (AI) คืออะไร

ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกกันว่า AI คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มากไปกว่านั้นยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น Amazon Alexa และ Siri ดังนั้นงานประเภทใดก็ตามที่มีการทำงานเป็นรูปแบบ ก็สามารถถูกปัญญาประดิษฐ์แทนที่ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ งานบัญชี หรือการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และสินเชื่อ แม้แต่งานที่ซับซ้อน ต้องใช้การคิด วิเคราะห์ ก็สามารถถูกแทนที่ได้เช่นกัน โดยสำหรับวงการเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ก็มีการนำ AI มาใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการกู้ยืมเงิน ธุรกิจประกัน การเรียกเก็บหนี้ หรือการทำ Credit Scoring ซึ่งหากเรารู้จักนำเทคโนโลยี AI มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และรู้จักปรับตัว พัฒนาความรู้ และทักษะของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถสร้างรายได้ได้มากมาย

ยุค 5 G

ยุค 5 G
สรุป
 5G คือ Generation ใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันจะไม่จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT)
ก่อนจะไปถึง 5G ลองมาไล่เลียงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในแต่ละยุคกัน
เริ่มจากในยุคแรก 1G เราพูดคุยกันด้วยเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก ต่อมาเราเริ่มส่งข้อความ MMS หากันในยุค 2G จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ เมื่อเข้าสู่ยุค 3G เราสามารถเชื่อมต่อและเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น (อยู่ระหว่าง 220 Kbps ถึง 42.2 Mbps) จนเข้ามาถึงยุค 4G เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps) ตอนนี้คุณพร้อมหรือยัง? ที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G
5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?
  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Bigdata


สรุปใจความสำคัญ

แล้ว big data คืออะไร

-Volume ปริมาณข้อมูลที่ใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก อ้างอิงจาก IBM เค้าบอกว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ทั้งหมดประมาณ 90% ถูกสร้างขึ้นในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมาเอง ต้องกราบขอบคุณวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และกระบวนการ digitization ที่เปลี่ยนข้อมูลต่างๆให้อยู่ในรูป digital format ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและวิเคราะห์ได้
-Variety ความหลากหลายของข้อมูลที่เก็บมา ตอนนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ได้เก็บใน table ง่ายๆเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่เป็น unstructured data ที่มาในรูปแบบของ text, video, audio เป็นต้น ตัวอย่างง่ายๆคือ facebook posts / comments / twitters / youtube videos ฯลฯ
-Velocity ความรวดเร็วของข้อมูลที่ถูก generated ขึ้นมา โดยเฉพาะพวก sensor รูปแบบต่างๆ เช่น fitness tracker / smart watch / mobile phone <GPS>
-Veracity เกี่ยวข้องกับเรื่องของ noise / bias ที่มาพร้อมกับข้อมูล พอข้อมูลมีใหญ่มาก การทำความสะอาดข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญมาก และเป็น challenge ของ big data analyst ทุกวันนี้เลย การมีข้อมูลเยอะไม่ได้แปลว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมดของเราได้เสมอไป
ทั้ง 4V’s รวมตัวกัน เกิดเป็น V ตัวที่ห้าคือ ‘Value’ โคตรตัวอย่างที่ได้ยินกันเยอะมากคือ Google Flu Trends ที่ Google ใช้ search terms ที่คนเสิชหาในเว็บของเค้าในการพยากรณ์ว่าพื้นที่ใดเกิดโรคไข้หวัดระบาดบ้าง อยู่ดีๆข้อมูล search terms ที่ถูกเก็บอยู่เฉยๆใน data warehouse ก็เกิดประโยชน์ซะงั้น <create values>
#อัพเดท ตอนนี้ Google นางปิดให้บริการ GFT ไปแล้ว หลังจากโดนนักวิชาการโจมตีว่าโมเดลพยากรณ์ผิดพลาดไปเยอะเลย ._. แต่ต้องยอมรับจริงๆว่า Google ได้สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นผู้บุกเบิกการใช้ Big Data ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง



Big Data 
เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นแรงผลักดันสำคัญให้สังคมเข้าสู่ยุค Big Data จริงๆ ปัจจัยหลักที่ช่วยให้ Big Data Analytics เติบโตอย่างรวดเร็วคือ

1.Storage Cost การเก็บข้อมูลถูกลงกว่าเดิมมาก ทุกวันนี้เรามี cloud storage ใช้กันแล้วจ้า ผู้เล่นใหญ่ๆในตลาดมาครบเลยทั้ง Microsoft Azure, Google Cloud, Amazon Web Services (AWS)
2.CPU Cost คอมพิวเตอร์แรงขึ้นทุกวัน สมัยก่อนคอมเครื่องใหญ่เท่าบ้านประมวลผลเท่าไมโครเวฟ  เด๋วนี้คอมขนาดเล็กลง พร้อมพลังการประมวลผลที่เยอะขึ้น ใน consumer market เราก็เห็น intel เปิดตัว core ใหม่ๆเต็มเลย ตอนนี้ขึ้นไปถึง core i9 ต่อไปใครๆก็คงทำ Big Data ได้ไม่ยาก
3.Bandwidth Cost ราคาของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านระบบ cloud ลดลงเรื่อยๆ จากหลักร้อยเหลือหลักสตางค์ bandwidth ของ Azure ได้ที่ลิ้งนี้เลย
4.Network Access ต่อเนื่องมาจากข้อสาม การที่ราคา bandwidth ถูกลงเป็นเพราะคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น จำนวน server ที่มากขึ้น เน็ตเร็วขึ้นทุกวัน ราคาก็ถูกลง ผลพลอยได้จากการแข่งขันของพวก network operators ต่างๆ
“Without big data analytics, companies are blind and deaf.”
ที่เขียนมายืดยาว สรุปสั้นๆว่า Big Data NOW !! เพราะว่า ต้นทุนการทำ Big Data มันถูกลงมาก #เรื่องเงินนี่เอง และ disruptive technology แบบใหม่ที่ช่วยให้การทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่เป็นเรื่องง่ายขึ้น e.g. Hadoop, MapReduce, Spark, MongoDB และอีกมากมาย
     

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สมาชิกกลุ่ม

รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่4

เลขที่เลขประจำตัวชื่อ - นามสกุลแสดงภาพ
1230833นางสาว ศิริพร สติไทย
2031346นางสาว นวพรรษ พิมพ์วงศ์สวย

31350นางสาว พรรณวิสา ศรีชัย

2231372นางสาว จินตนา  ทองดี

3633000นางสาว หัทยา  แพนุ้ย

IOT internet of things

   Internet of Things (IoT) คือ  "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง  การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โล...